วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ตำนาน ถ้ำแม่อุษา



ตำนาน ถ้ำแม่อุษา

ในอดีตกาลเมื่อครั้งเกิดสงคราม มีเจ้าเมืองอยู่เมืองหนึ่งแพ้สงคราม
จึงต้องพาครอบครัวอพยพหนีข้าศึก เจ้าเมืองมีลูกชาย 6 คน ลูกสาว 1 คน
ชื่อว่า แม่อุษา เนื่องจากแม่อุษาได้ท้องแก่มาก จำเป็นต้องหยุดพักเป็นระยะ ๆ
ผนวกกับมีสัมภาระข้าวของเงินทองมากมาย จึงทำให้การเดินทางต้องล่าช้าเมื่อมาถึงถ้ำแห่งหนึ่งฝ่ายผู้เป็นบิดา เห็นว่า ยังมีข้าศึกไล่ประชิดเข้ามาทุกที เกรงว่าจะหนีไม่รอดกันทั้งหมด ก็เอ่ยปากว่า "ถ้าหอบข้าวของหนีต่อไปก็คงจะไม่ไหว จะมีใครไหมที่จะอาสาเฝ้าถ้ำนี้ตลอดไป " แม่อุษาได้ยินดังนั้นก็คิดว่า ตัวเองนั้นท้องแก่เต็มที่หากตัวเองเดินทางต่อไปก็จะเป็นภาระให้
พ่อแม่และพี่ๆ จึงตัดสินใจแล้วบอกผู้เป็นบิดาว่า ถ้าพ่อเห็นควรอย่างนั้นลูกก็ขออาสา

เจ้าเมืองจึงใช้มีดดาบฟันคอแม่อุษาจนขาด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่อุษาจึงคอยระวังรักษาสมบัติต่างๆ อยู่ในถ้ำแห่งนั้น และมีเรื่องเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่า ถ้าหากใครต้องการของสิ่งใดก็สามารถขอยืมออกไปจากถ้ำได้ แต่ต้องนำมาคืน ครั้งแรก ๆ ชาวบ้านหยิบยืมไปก็นำมาคืน แต่พอระยะหลังก็นำมาคืนบ้างไม่คืนบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้คืนมากกว่า แม่อุษาก็เลยโกรธจึงปิดปากถ้ำจนไม่สามารถเข้าไปได้ ถ้ำนั้นก็เลยได้ชื่อว่า ถ้ำแม่อุษา มาจนกระทั่งทุกวันนี้

อย่างภาพนี้ ชาวบ้านเชื่อว่าหินก้อนนี้คือตัวแทนของเจ้าแม่อุษาคุณคิดว่าหินก้อนนี้คล้ายผู้หญิงมวยผมยืนหันหลังไหมคะ

ความสวยงามภายในถ้ำ


ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด

ศิลาจารึก หลักที่ ๑

ตำนาน ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด

พ่อขุนสามชน เป็นราชบุตรของพ่อขุนจันคำเหลืองเจ้าเมืองฉอด และเจ้าแตงอ่อน (เจ้ามุกขวดี) มีพระอนุชาชื่อ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงส์ เมื่อพ่อขุนจันคำเหลืองสวรรคตแล้ว พ่อขุนสามชนราชบุตรองค์ใหญ่ได้สืบราชสมบัติในเมืองฉอดแทนพระราชบิดา ต่อมามีเจ้าแม่มโนราห์เป็นชายา เมืองฉอดปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่ระมาดซึ่งอยู่เหนืออำเภอแม่สอดขึ้นไป พ่อขุนสามชนสืบราชสมบัติต่อมาไม่นาน ก็ทรงเริ่มทำสงครามแผ่ขยายอาณาเขต และด้วยเป็นขุนศึกที่เชี่ยวชาญเชิงยุทธ์ประกอบกับมีน้ำพระทัยโอบอ้อมอารีย์รักไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน จึงเป็นที่รักใคร่นับถือของประชาชนมาก และยิ่งกว่านั้นในวันธรรมสวนะก็ สั่งสอนในเรื่องของธรรมแก่ราษฎรมิได้ขาด สาเหตุที่ขุนสามชนทำศึกกับสุโขทัยนั้นเป็นเพราะความเข้าใจผิดกัน เพราะก่อนหน้านี้ขอม สมาด โขลญลำพง ยึดอำนาจเป็นใหญ่ที่เมืองสุโขทัยและข่มเหงรังแกคนไทยมาก พ่อขุนสามชนจึงดำริว่า จะต้องยกกองทัพไปตีเมืองสุโขทัยก่อน เพื่อล้มอำนาจ ขอม สมาด โขลญลำพงและจะรวมไทยเข้าเป็นปึกแผ่นเข้าด้วยกัน โดยมีสุโขทัยเป็นเมืองแม่แต่ขณะที่ยกทัพไปนั้น พ่อขุนบางกลางท่าวกับพ่อขุนผาเมืองได้ปราบขอมสำเร็จแล้ว และพ่อขุนบางกลางท่าว ก็ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงพระนามว่า พระเจ้าขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนสามชนได้ข่าวก็รู้สึกยินดีเป็นล้นพ้น แต่ก็เดินทัพต่อเพื่อต้องการเกลี้ยกล่อมคนไทย ด้วยกันให้เข้าสวามิภักดิ์ต่อกรุงสุโขทัย หาได้ต้องการเข่นฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ แต่ทางสุโขทัยไม่ทราบเรื่องเพราะขุนสามชนไม่ได้แจ้งให้ทราบจึงเกิดความเข้าใจผิด มื่อกองทัพปะทะกันยังไม่ทันได้พูดจา จึงเกิดการต่อสู้กัน พ่อขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์อ่อนล้าและกำลังจะถอยร่นไปนั้น พ่อขุนรามราชบุตรก็เข้ามาช่วยจนขุนสามชนเสียหลักและบาดเจ็บหลายแห่ง จึงถอยทัพกลับเมืองฉอด ฝ่ายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ก็มิได้ติดตามไปซ้ำอีกเพราะเห็นเป็นไทยด้วยกัน ขุนสามชนรู้สึกเสียใจมากที่ลูกหลานไทยตายไปจำนวนมาก เมื่อหายจากประชวรแล้ว ก็ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติให้พระอนุชา คือ พ่อขุนพุฒวงษ์ยนต์หงษ์ และตรัสสอนว่าให้ดูแลทุกข์สุขของราษฎรทุกคนเหมือนลูกหลาน จงรวมคนไทยที่แตกแยกเข้าด้วยกัน หากเกิดศัตรูที่เป็นคนต่างชาติจะมาเอาแผ่นดินจงรวมพลังกันต่อสู้

ู้